วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 2  เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  


เด็กใส่แว่นความรู้ที่ได้รับ 

วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอวิจัยและบทโทรทัศน์ครู ตามที่ตนเองได้รับ รวมถึงอาจารย์จะซักถามถึงตัวแปรและกลุ่มประชากร เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม






ต่อมาอาจารย์ให้จับกลุ่มทำแผ่นประชาสัมพันธ์ในหน่วยที่ตนเองได้รับ มีหัวข้อในแต่ละหน้าดังนี้
หน้าปก ให้เขียนชื่อโรงเรียนและสัญลักษณ์สถานศึกษาของเรา
หน้าที่ 1 คำชี้แจง  หน่วย....
หน้าที่ 2 เล่าสู่กันฟัง
หน้าที่ 3 ใส่เพลง คำคล้องจอง หรือนิทาน
หน้าที่ 4 เล่นกับลูก เป็นการใส่เกมเพื่อให้เด็กได้เล่นกับผู้ปกครอง โดยเกมที่ใส่จะต้องเป็นเกมทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่คณิตศาสตร์
หน้าที่ 5 สมาชิกในกลุ่ม


เด็กใส่แว่นการนำไปใช้

นำความรู้จากวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนๆสรุปไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการคิดกิจกรรมให้กับเด็กๆ รวมถึงนำคำชี้แนะของอาจารย์ไปปรับใช้ในครั้งต่อๆไป และไปประกอบการเรียนรายวิชาอื่นๆ

เด็กใส่แว่นประเมิน

ตนเอง : แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนองาน มีคุยบ้างเล็กน้อย แต่พอถึงเวลาทำงานช่วยคิดและลงมือทำกับเพื่อนภายในกลุ่มได้ดี
เพื่อน  : มีความพร้อมในการนำเสนองานทุกคน มีคุยบ้างเล็กน้อย พอถึงเวลาทำงานกลุ่มตั้งใจช่วยเหลือกันดี
อาจารย์ : มีคำชี้แนะที่ดีเสมอ มีคำถามกระตุ้นการเรียนรู้ของนักศึกษาแต่ละคนได้ดี และแต่งกายสุภาพเรียบร้อย



วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 25  เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  


ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้เพื่อนๆออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู
ต่อมาอาจารย์ได้สอนการทำวาฟเฟิล หรือขนมรังผึ้ง 
โดยมีส่วนผสมดังนี้ 
1. ไข่ไก่
2. แป้งวาฟเฟิล
3. น้ำเปล่า
4.เนย

รูปภาพการทำ









การนำไปใช้
สามารถนำขั้นตอนการทำวาฟเฟิลไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็ก
และนำวิจัย โทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอมาเป็นเกร็ดความรู้ในการทำกิจกรรมการเรียนในอนาคต


การประเมิน

ตนเอง : มีความพร้อมในการเรียน มีส่วนร่วมการในทำกิจกรรมได้ดี แต่งกายถูกระเบียบ มาเรียนตรงต่อเวลา ช่วยกันเก็บทำความสะอาดห้องเรียน
เพื่อน : มีความสามัคคีช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี มีน้ำใจซึ่งกันและกัน อาจคุยบ้างบางเวลา แต่ก็เชื่อฟังเวลาอาจารย์แนะนำข้นตอน ฃ
อาจารย์ : มีกิจกรรมสนุกๆมาให้เราทำเสมอ เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนการสอนและให้เราได้เห็นภาพการทำกิจกรรมด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ


วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย




ชื่อเรื่อง  การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง    นางสาวจุฑามาศ  เรือนก๋า
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
    วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่างๆ ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆที่มนุษย์ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานและประกอบอาชีพ   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นครูควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล วัย ความสนใจและความต้องการของเด็กและเปิดโอกาสให้เด็กทดลองทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างและใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552  (จำนวน 35 คน)
               โรงเรียนบ้านหลวง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.ชุดกิจรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสาตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยสัตว์ืเลี้ยงแสนดี หน่วยผลไม้น่าทาน หน่วยดอกไม้แสนสวย หน่วยต้นไม้เพื่อนรักและหน่ยวิทยาศาสตร์น่ารู้
2.แบบทดสอบวัดกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4 ทักษะเป็นข้อคำถามที่มีลักษณะเป็นรูปภาพ จำนวน 4 ชุด 25 ข้อ

การดำเนินงานวิจัย
จัดกิจกรรมเป็นเวลาติดต่อกัน วันละ 1 ชุด ชุดละ 1ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง

สรุปผลการวิจัย
เป็นชุดกิจกรรมที่ได้ผลเด็กๆให้ความสนใจ และพบว่าเด็กมีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าการจัดประสบการณ์และเล่นตามมุมตามปกติ



 

สรุปโทรทัศน์ครู


บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ตอน หลงทางเสียแล้ว ทำไงดี?





ในวีดีโอนี้ต้องการสอนเรื่องของ แม่เหล็ก 

ขั้นตอนการสอน 
1. เริ่มจากการใช้คำถามสนทนาโต้ตอบว่า 
เด็กๆรู้ไหมว่าแม่เหล็กคืออะไร?  เด็กๆตอบว่า คือตัวที่ติดเหล็กได้
2. นำแท่งแม่เหล็กมาให้เด็กๆได้ดู สังเกต และสัมผัส  แล้วถามว่าแท่งแม่เหล็กที่เด็กๆจับอยู่นั้นมีลักษณะอย่างไร  เด็กๆตอบว่า แข็ง หนัก 
3. ให้เด็กๆหาสิ่งของที่อยุ่ภายในห้องว่าสิ่งใดที่แม่เหล็กจะดูดได้บ้าง เด็กๆเลือกที่จะหยิบ ขวดที่มีฝาเป็นเหล็ก และคลิปหนีบกระดาษ  สุดท้ายให้เด็กๆลองนำแท่งแม่เหล็กไปวางว่าบนสิ่งของที่เด็กๆหยิบมาจะดูดจริงหรือไม่  ผลปรากฎว่า....ฝาขวด ดูดได้เพียงนิดเดียว แต่คลิปกระดาษนั้นดูดได้เยอะมากๆ
4. เป็นการทดลองหาทิศทาง โดยใช้เชือกผูกไว้ตรงกลางของแท่งแม่เหล็ก ผูกแน่นๆ 2 ทบ แล้วนำไปแขวนกับต้นไม้เพื่อหาทิศทาง แท่งแม่เหล็กแบ่งเป็น 2 สี สีน้ำเงินคือ ทิศใต้ ส่วนสีแดงคือทิศเหนือ ผลการทดลองออกมาว่า แท่งแม่เหล็กที่เด็กๆผูกไว้นั้นหันไปทางทิศเดียวกันหมดทุกแท่ง
5. การทดลองสุดท้าย คือ นำกระดาษA4 มาวางบนแท่งแม่เหล็กแล้วให้เด็กๆตักผงสีเทาๆใส่บนกระดาษหลังจากนั้นให้เด็กๆลองขยับกระดาษไปมาๆ ผลปรากฎว่าผงสีเทาก้คือผงเหล็กและสิ่งที่เกิดขึ้นคือเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง

เด็กมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นได้เรียนรู้เกี่ยวกับทิศทางเหนือ ใต้ และการทดลองแท่งแม่เหล็กด้วยวิธีต่างๆมากขึ้น 





วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14



วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 18  เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  



** วันนี้ดิฉันไม่สบายขอลาป่วย แต่ได้สอบถามเพื่อนๆว่าอาจารย์ได้สอนอะไรไปบ้าง
   ได้คำตอบ ดังนี้ 
   1. อาจารย์ให้นำเสนอแผนการสอนที่เหลือ 3 กลุ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว 
      ได้แก่  หน่วยส้ม  หน่วยนกหงส์หยก และหน่วยสับปะรด
   2. อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูจำนวน 6 คน
   3. อาจารย์สอนทำ Cooking ทาโกะยากิ 


 





    

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 11  เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  




ความรู้ที่ได้รับ

*วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอแผนการสอน กลุ่มที่ออกไปนำเสนอมีดังนี้
  หน่วยผลไม้
  หน่วยช้าง
  หน่วยแตงโม
  หน่วยผีเสื้อ
  หน่วยข้าวโพด
  หน่วยกล้วย




การนำความรู้ที่ได้ไปใช้

*สามารถนำความรู้ขั้นตอน วิธีการสอน และคำแนะนำของอาจารย์ไปแก้ไขปรับใช้ในครั้งต่อๆไป
*นำความรู้ที่และประสบการณ์ครั้งนี้ไปถ่ายทอดแก่เด็กๆในอนาคต

ประเมิน  

ตนเอง  :  มีความตั้งใจเรียน ฟังเพื่อนนำเสนองานดี
เพื่อน   : ตั้งใจนำเสนองานได้ดีมาก มีความสนใจและตั้งใจในการเตรียมอุปกรณ์สื่อมาประกอบการนำเสนอ
อาจารย์  : มีคำแนะนำดีๆให้ทุกกลุ่มและบอกแนวทางการแก้ไขให้


บัันทึกอนุทินครั้งที่ 12



วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  


ความรู้ที่ได้รับ

*วันนี้อาจารย์อธิบายขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ โดยมีหัวข้อต่างๆดังนี้
 1.สาระที่ควรเรียนรู้
 2.เนื้อหา
 3.แนวคิด
 4.ประสบการณ์สำคัญ
 5.บูรณาการรายวิชา
 6.เว็บกิจกรรม 6 กิจกรรม
   6.1กิจกรรมเสริมประสบการณ์
   6.2กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
   6.3กิจกรรมเสรี
   6.4กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
   6.5การเล่นกลางแจ้ง
   6.6เกมการศึกษา
 7.กรอบพัฒนาการ
 8.วัตถุประสงค์

การนำความรู้ที่ได้ไปใช้

*สามารถนำความรุ้ที่ได้ไปประยุกต์แก้ไขในการเขียนแผนส่งสัปดาห์ถัดไป และไปสอดแทรกกับรายวิชาต่างๆในการเรียนด้วย


ประเมิน

ตนเอง  :  ตั้งใจเรียนจดตามที่อาจารย์บอกเสมอ รุ้จักพูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์
เพื่อน   :  ตั้งใจเรียนและรู้จักสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์
อาจารย์  : มีแนวการสอนที่ดี นำมาชี้แนะให้เราได้เห็นและพูดประสบการณ์ตรงให้เราคิดตาม