วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  


หมูร้อนความรู้ที่ได้รับ

*วันนี้เริ่มต้นด้วยการทำรูปยางกระดาษ ถ้านำกิจกรรมนี้ไปสอนกับเด็ก เด็กจะได้สร้างผลงานด้วยตนเองตามทฤษฎี Constructivism เป็นปรัชญาการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อที่ว่าเด็กสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง
*อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอบทความ

หัวเห็ดตากพัดลมเลขที่ 3 นางสาวนภาวรรณ  กรุดขุนเทียน
นำเสนอเรื่อง  สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ดและไก่
ผู้เขียน ครูลำพรรณี  มืดขุนทด
เด็กเรียนรู้ผ่านนิทาน เรื่อง หนูไก่คนเก่ง มี 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเด็กร้องเพลงไก่และทำท่าทางประกอบอย่างอิสระ
ขั้นที่ 2 สนทนาตั้งคำถามกับเด็ก "อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร"
ขั้นที่ 3 ให้เด็กๆวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำพูดที่เด็กบอกลงภาพนั้นๆ

หัวเห็ดตากพัดลมเลขที่ 4 นางสาวสุธาสินี  ธรรมานนท์
นำเสนอเรื่อง สร้างแนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
ผู้เขียน ดร.เทพปัญญา  พรหมขัติแก้ว
1.ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องรอบๆตัว
2.ออกไปหาคำตอบพร้อมๆกับเด็ก
3.เด็กเอาสิ่งนั้นมาตอบคำถามของเขาเอง ครูก็ช่วยเสริมเนื้อหาเข้าไป
4.เอาสิ่งนี้มาให้เพื่อนช่วยคิด
5.นำสิ่งนี้ไปเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์

หัวเห็ดตากพัดลมเลขที่ 5 นางสาวนฤมล อิสระ
นำเสนอเรื่อง  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา   ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ  ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสะบาย

หัวเห็ดตากพัดลมเลขที่ 7 นางสาวยุพดี สนประเสริฐ
นำเสนอเรื่อง  โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน  ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร 
เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย   กิจกรรม ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย จะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ”

*ต่อมาอาจารย์ได้สอนเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อหลักๆ ดังนี้
ความหมายทักษะการสังเกต
ความหมายทักษะการจำแนก
ความหมายทักษะการวัด
ความหมายทักษะการสื่อสาร
ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
ความหมายทักษาะการคำนวณ
*นำมายแมพที่ทำมาไปติดรอบๆห้อง อาจารย์ตรวจเช็คและบอกแนวทางการแก้ไข

หมูร้อนการนำไปใช้

*สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอน และบทความที่เพื่อนนำเสนอ ไปประยุกต์ปรับใช้ในการเรียนการสอน การเขียนแผนในอนาคตได้

หมูร้อนการประเมิน

ตนเอง : มีการเตรียมนำเสนอบทความเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
เพื่อน  : มีความตั้งใจในการฟังเพื่อนนำเสนอ สามารถโต้ตอบคำถามกับอาจารย์ได้ดี
อาจารย์  : มีแนวทางการสอนใหม่ๆเสมอ มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำทุกอาทิตย์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้น


วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 16 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  




หมูร้อนความรู้ที่ได้รับ

* วันนี้อาจารย์เปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เราฟัง  แล้ววิเคราะห์เนื้อหาของบทเพลงนี้
* อาจารย์สั่งให้เราจับกลุ่ม 5 คน คิดเรื่องมา 1 เรื่องแล้วเขียนแตกออกมาว่าามีส่วนประกอบอะไรบ้าง
* พร้อมกับมีเพื่อน 2 คน ออกไปนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์

  เลขที่ 1 นางสาววีนัส  ยอดแก้ว
  นำเสนอเรื่อง  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่?
  ผู้เขียน อาจารย์ชุติมา  เตมียสถิต
  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์  เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่

  เลขที่ 2 นางสาวเจนจิรา  บุตรช่วง
  นำเสนอเรื่อง   สอนลูกเรื่องพืช
  ผู้เขียน  อาจารย์นิติธร ปิลวาสน์ 
  การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน ตัวอย่างเช่น
1. การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงเลียง แกงส้ม หรือสลัดผัก พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกอบอาหาร การช่วยใส่ส่วนประกอบที่เป็นผักลงในกระทะ การเติมเครื่อง ปรุงต่างๆ ขณะที่เด็กช่วยเตรียมผัก พ่อแม่อาจจะถามเด็กว่าผักที่กำลังเตรียมปรุงอาหารมีชื่ออะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร
2. การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้านก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
3. ให้เด็กไปช่วยเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับ จากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้ และนำมาจัดเป็นสวนหย่อมที่หน้าบ้าน
4. พาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ เช่น สวนดอกไม้ สวนพฤกษศาสตร์ ภูเขา น้ำตก

* อาจารย์ให้เรากลับไปดูเรื่อง ความลับของแสง ที่เพื่อนจะโพสลงในกลุ่มให้ดูแล้วสรุปมาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ สรุปได้ดังนี้



หมูร้อนการนำไปใช้

* จากที่เพื่อนออกไปนำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ทำให้เราทราบในหลายๆเรื่องที่เราไม่รู้ รวมถึงวิธีการสอนแบบบูรณการหรือสอดแทรกวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนของเด็ก

หมูร้อนประเมิน

ตนเอง : มีการเตรียมตัวพูดบทความวิทยาศาสตร์มาดี แต่ไม่ได้พูดเพราะอาจารย์ให้ออกสัปดาห์หน้า
เพื่อน : มีความกล้าตอบมาขึ้น รู้จักคิดแก้ไขปัญหาได้ดี
อาจารย์ : มีสื่อการสอนใหม่ๆมาเพิ่มขึ้น เช่น การเปิดเพลงแล้วให้เราสรุปเนื้อเพลงว่ากล่าวถึงอะไรเรื่องใดบ้าง



สรุปบทความ



สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”


ผู้แต่ง  ครูลำพรรณี มืดขุนทด    จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนา


    
คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง” ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา
    การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนนำเด็กร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด ขั้นตอนต่อมาชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น เช่น “อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ?”, รู้ได้อย่างไรและบอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด เป็นต้น สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่และลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด อาหารของลูกไก่และลูกเป็ดด้วยตาเปล่ากับแว่นขยาย และต้องบอกรายละเอียดให้มากที่สุด
    ขั้นสุดท้าย คือ หลังจากให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนำเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคำพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่ และเป็ดอย่างอิสระ แล้วให้เด็กนำเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคำตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ
    กิจกรรมนี้เด็กได้แสดงความรู้สึกด้วยคำพูด เล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ผู้อื่นฟัง สำรวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ตรง ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกัน” ครูลำพรรณี กล่าว
    เทคนิคการสอนของครูลำพรรณี ได้จัดแสดงในกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยครูปฐมภัยจากภูมิภาคต่างๆ ที่ได้นำแนวทางการสอนจาก สสวท.ไปแตกแขนง และต่อยอดการเรียนการสอนตามสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในท้องถิ่นตนเอง ภายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “วิทย์-คณิตปฐมวัย ก้าวย่างอย่างไรให้ยั่งยืน” เมื่อเร็วๆ นี้


     

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 9 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  



ความรู้ที่ได้รับ




**สรุป** 
หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ต้องพฒนาให้ครบทั้ง 4 ด้าน เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล และยึดเด็กเป็นสำคัญ รวมถึงต้องมีการประสานสัมพันธ์ ระหว่าง ครอบครัว ชุมชุน และโรงเรียน


การนำไปใช้

สามารถนำความรู้รูปแบบการเรียนรู้ต่างๆที่อาจารย์สอนและอธิบาย ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมและการฝึกสอนในอนาคตด้วย 

การประเมิน

ตนเอง : มีพัฒนาการทางด้านการทำ mind mapping มากขึ้นกว่าครั้งก่อน สามารถแยกแยะหัวข้อได้
เพื่อน  : มีความตั้งใจในการเรียนและรับฟังอาจารย์สอน
อาจารย์ : มีการเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี 




บันทึกอนุทินครั้งที่ 3



วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 3 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  




** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ให้เราเข้าร่วมโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ **





วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  




ความรู้ที่ได้รับ

*วันนี้อาจารย์ได้สอนถึงเรื่อง พัฒนาการทางการเล่น  
 ตัวที่จะสะท้อนพัฒนาการ คือ พฤติกรรม
 พัฒนาการ  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
 พัฒนาการยังบ่งบอกถึงความสามารถแต่ละระดับอายุ
*เด็กจะเรียนรู้โดยวิธีการเล่น!!
  การเรียนรู้ สังเกตจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก สังเกตจากการที่เด็กแสดงออก
*เครื่องมือวิทยศาสตร์ที่สำคัญมี 2 ประการคือ
 1. คณิตศาสตร์
 2. ภาษา
*นอกจากเรื่องราวต่างๆแล้ว อาจารย์ยังให้เราสรุปความรู้ที่ได้รับเป็น Mind mapping ดังภาพข้างล่างนี้



การนำไปใช้

นำความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาตร์ และกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยไปประยุกต์และต่อยอด
กับรายวิชาอื่นๆหรือ นำไปปรับเปลี่ยนใช้ในการเขียนแผนการสอน


การประเมิน

ตนเอง : มีความตื่นตัวที่จะเรียน อาจมีคุยบ้างเล่นบ้างบางเวลา
เพื่อน  :  สามัคคี ช่วยเหลือกันในการโต้ตอบอาจารย์ มีความตื่นตัวที่จะเรียน มีคุยเสียงดังบ้างบางเวลา
อาจารย์  : เตรียมการสอนมาดี มีเทคนิคการสอนไม่ซ้ำกันในแต่ละสัปดาห์ 




วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา  การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย      
วันที่ 19 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102   เวลา  14.10 น. - 17.30 น.  


กังหันความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นการพบกันครั้งแรกจึงไม่มีการเรียนการสอนใดๆ แต่อาจารย์ได้แนะแนวรายวิชา ว่ามีการเรียนการสอนแบบใดบ้าง  มีเนื้อหาอย่างไร โดยการแจก  Course  Syllabus  ให้พวกเราศึกษาและเปิดดูตามไปพร้อมๆกัน  อาจารย์ได้พูดแนะแนวเกี่ยวกับคะแนน บทเรียน และเรื่องที่จะเรียนในแต่ละสัปดาห์ด้วย 


กังหันการนำไปใช้

นำทักษะการสอน การพูด การชี้แจ้ง ของอาจารย์ไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และนำบทเรียนแต่ละอาทิตย์ไปศึกษาเตรียมตัวเรียนในอาทิตย์ต่อๆไป


กังหันการประเมิน

ตนอง   :   มีความพร้อมตื่นตัวในการฟังการเตรียมที่จะเรียน
เพื่อน   :    ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์พูดและโต้ตอบบางครั้งเมื่ออาจารย์ถาม
อาจารย์   :  มีความพร้อมที่จะสอน เตรียมการมาอย่างดี และเปิดโอกาสให้เราได้คิด วิเคราะห์
และมีส่วน ร่วมตลอดคาบเรียน