สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”
ผู้แต่ง ครูลำพรรณี มืดขุนทด จาก โรงเรียนบ้านหนองผือจำเริญพัฒนา
คุณครูจึงได้การจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวทางของ สสวท.ผ่านนิทานเรื่อง “หนูไก่คนเก่ง” ซึ่งสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักการช่วยเหลือตัวเอง อาบน้ำแต่งตัวเองได้ ทำงานส่งครูได้ทันเวลา
การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนนำเด็กร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคำถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด ขั้นตอนต่อมาชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น เช่น “อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ?”, รู้ได้อย่างไรและบอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด เป็นต้น สำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนำลูกไก่และลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด อาหารของลูกไก่และลูกเป็ดด้วยตาเปล่ากับแว่นขยาย และต้องบอกรายละเอียดให้มากที่สุด
ขั้นสุดท้าย คือ หลังจากให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนำเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคำพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่ และเป็ดอย่างอิสระ แล้วให้เด็กนำเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคำตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ
กิจกรรมนี้เด็กได้แสดงความรู้สึกด้วยคำพูด เล่าประสบการณ์ของตัวเองให้ผู้อื่นฟัง สำรวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด จุดเด่นของกิจกรรมนี้ คือ ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม ผลที่เกิดกับเด็ก คือ เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆ ด้าน ได้รับประสบการณ์ตรง ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ชื่นชมผลงานของผู้อื่น มีความรักและเมตตาต่อไก่และเป็ด ได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน รอคอย แบ่งปัน มีน้ำใจต่อกัน” ครูลำพรรณี กล่าว
เทคนิคการสอนของครูลำพรรณี ได้จัดแสดงในกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยครูปฐมภัยจากภูมิภาคต่างๆ ที่ได้นำแนวทางการสอนจาก สสวท.ไปแตกแขนง และต่อยอดการเรียนการสอนตามสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในท้องถิ่นตนเอง ภายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “วิทย์-คณิตปฐมวัย ก้าวย่างอย่างไรให้ยั่งยืน” เมื่อเร็วๆ นี้
ลองปรับโดยวางเมาส์ที่ชื่อเรื่องและคลิกขวา
ตอบลบจะLinkไปที่บทความฉบับจริงนะคะ
อาจสรุปเป็นประเด็นและจัดวางที่ทำให้อ่านง่ายกว่านี้จะดีมากคะ