วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 23 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557
กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
*วันนี้เริ่มต้นด้วยการทำรูปยางกระดาษ ถ้านำกิจกรรมนี้ไปสอนกับเด็ก เด็กจะได้สร้างผลงานด้วยตนเองตามทฤษฎี Constructivism เป็นปรัชญาการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความเชื่อที่ว่าเด็กสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง
*อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอบทความ
เลขที่ 3 นางสาวนภาวรรณ กรุดขุนเทียน
นำเสนอเรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก เป็ดและไก่
ผู้เขียน ครูลำพรรณี มืดขุนทด
เด็กเรียนรู้ผ่านนิทาน เรื่อง หนูไก่คนเก่ง มี 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเด็กร้องเพลงไก่และทำท่าทางประกอบอย่างอิสระ
ขั้นที่ 2 สนทนาตั้งคำถามกับเด็ก "อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร"
ขั้นที่ 3 ให้เด็กๆวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำพูดที่เด็กบอกลงภาพนั้นๆ
เลขที่ 4 นางสาวสุธาสินี ธรรมานนท์
นำเสนอเรื่อง สร้างแนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์
ผู้เขียน ดร.เทพปัญญา พรหมขัติแก้ว
1.ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องรอบๆตัว
2.ออกไปหาคำตอบพร้อมๆกับเด็ก
3.เด็กเอาสิ่งนั้นมาตอบคำถามของเขาเอง ครูก็ช่วยเสริมเนื้อหาเข้าไป
4.เอาสิ่งนี้มาให้เพื่อนช่วยคิด
5.นำสิ่งนี้ไปเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์
เลขที่ 5 นางสาวนฤมล อิสระ
นำเสนอเรื่อง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสะบาย
เลขที่ 7 นางสาวยุพดี สนประเสริฐ
นำเสนอเรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
ผู้เขียน ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร
เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด และลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย กิจกรรม ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย จะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า “โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ”*ต่อมาอาจารย์ได้สอนเรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อหลักๆ ดังนี้
ความหมายทักษะการสังเกต
ความหมายทักษะการจำแนก
ความหมายทักษะการวัด
ความหมายทักษะการสื่อสาร
ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
ความหมายทักษาะการคำนวณ
*นำมายแมพที่ทำมาไปติดรอบๆห้อง อาจารย์ตรวจเช็คและบอกแนวทางการแก้ไข
การนำไปใช้
*สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอน และบทความที่เพื่อนนำเสนอ ไปประยุกต์ปรับใช้ในการเรียนการสอน การเขียนแผนในอนาคตได้
การประเมิน
ตนเอง : มีการเตรียมนำเสนอบทความเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
เพื่อน : มีความตั้งใจในการฟังเพื่อนนำเสนอ สามารถโต้ตอบคำถามกับอาจารย์ได้ดี
อาจารย์ : มีแนวทางการสอนใหม่ๆเสมอ มีกิจกรรมสนุกๆมาให้ทำทุกอาทิตย์และเปิดโอกาสให้นักศึกษาออกไปทำกิจกรรมหน้าชั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น